วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

Finaldetail2

ประวัติ บริษัท ขนส่ง จำกัด

            การขนส่งโดยรถยนต์และรถโดยสารในประเทศไทย เริ่มครั้งแรกหลังจากเปิดการเดินรถไฟสายแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ราว 2-3 ปี เมื่อรถยนต์จากยุโรปคันแรกได้นำเข้ามายังประเทศไทย รถยนต์คันนี้เป็นของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เข้าใจว่าคงจะมีฝรั่งนำเข้ามาจากยุโรปแล้วเอามาขายต่อ ลักษณะของรถยนต์นี้นัยว่า ใช้น้ำมันปิโตเลียมต้องจุดไฟลักษณะคล้ายเตาฟู่ รูปร่างคล้ายรถบดถนน มีที่นั่งสองแถวมีหลังคาเป็นประระล้อยางต้น ซึ่งทั้งนี้ทำให้สงสัยว่าจะเป็นรถที่ใช้เครื่องสตีมหรือไอน้ำมากกว่า และในที่สุดก็ใช้การอะไรจริงจังไม่ได้ ต้องทิ้งให้เหลือแต่ซากและสูญสิ้นไป ต่อมากรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นผู้นำรถยนต์จากยุโรปเข้ามาเป็นคันแรก แล้วได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นรถพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการให้สั่งซื้อรถยนต์แบบใหม่ ๆ ของสมัยนั้นเข้ามาอีกหลายสิบคัน เพื่อพระราชทานแจกจ่ายแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ.2451 ได้มีรถโดยสารประจำทางขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นของพระยาภักดีนรเศรษฐ ผู้ให้กำเนิดรถเมล์ขาวเดินรับส่งผู้โดยสารจากประตูน้ำ สระปทุม กับบางลำภู นับได้ว่าเป็นการเริ่มทำการขนส่งด้วยรถโดยสารขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการจราจร เพราะแต่เดิมถนนมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับรถลากจูงและ เทียมม้ากับรถส่วนบุคคลพอมีรถโดยสาร ทำให้ถนนที่มีขนาดความกว้างไม่สัมพันธ์กับตัวรถโดยสาร จึงทำให้ถนนแคบลงและเกิดอุบัติเหตุอยู่เนือง ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงตราพระราชบัญญัตรถยนต์เป็นฉบับแรกขึ้นเมื่อ ร.ศ.128 ขึ้นตรงกับ พ.ศ.2453 พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้วางระเบียบการเดินรถและขับรถขึ้นไว้ และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.ศ.129 หรือ พ.ศ.2454 เป็นต้นมา


กิจการด้านการเดินรถในระยะเริ่มแรก ได้เปิดกิจการควบคู่กับการบินพาณิชย์ โดยเปิดการเดินรถจากหัวลำโพงไปยังดอนเมือง รังสิต และท่าช้างวังหลวงไปยังสนามบินน้ำ จ.นนทบุรีผลจากการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อาจจะเป็นกิจการใหม่ประชาชนหันมานิยมใช้บริการกันมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2479 จนถึง 2482 ประเทศไทยได้เข้าฝรั่งเศส ประเทศไทยได้เข้าสู่สภาวะสงครามอินโดจีน ผู้ซึ่งเป็นชนชาติอังกฤษ เช่นเช่น นายอาร์บี แจ็คสัน และผู้ก่อตั้งสัญชาติอังกฤษ ต้องเดินทางออกนอกประเทศ เป็นผลให้ในปี พ.ศ.2482ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากบริษัทเดินอากาศ จำกัด เป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด


เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด แล้วก็ยังใช้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดิม คือ Aerial Transport of Siam Company Limited เปลี่ยนผู้จัดการเป็นพระยาเชาวนานุสถิติ (เชาว์ อินทุเกตุ) จากปี พ.ศ. 2482-2484 สงครามโลกครั้งที่ 2ได้เริ่มขึ้นจากประเทศยุโรปและลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกในทวีปอาเซีย ญี่ปุ่นยกกำลังเข้ายึดครองประเทศต่างๆ ทั่วทวีปอาเซีย รวมทั้งได้ยกพลขึ้นบกเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ภาวะสงครามได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกิจการของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการบิน

ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ.2496 บริษัทฯ ได้กู้เงินจากธนาคารออมสินเพิ่มอีก 15 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อขยายกิจการเดินรถประจำทาง และได้นำเงิน 12 ล้านบาท ไปซื้อรถโดยสารสำเร็จรูปจากต่างประเทศ 2 ชนิดคือ อีซูซุ 30 คัน เซ้ดดอน 50 คัน รถใช้สอย คันรวม 86 คัน เงินที่เหลืออีก 3 ล้านบาท ได้จัดซื้ออุปกรณ์การซ่อมเครื่องอะไหล่สร้าง โรงเก็บรถสร้างที่อยู่ เจ้าหน้าที่ จัดหาที่ดินบูรณะอาคารที่จำเป็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น



การเดินรถก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้มีการจัดซื้อรถมาทดแทน คงใช้รถเก่าเดินตามเส้นทางต่าง ๆ รวม 7 เส้นทาง ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงสุด และรถบางคันไม่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำออกบริการประชาชน ซึ่งต้องปลดระวาง ทำให้รถมีจำนวนน้อยลงไม่เพียงพอบริการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2490 จนถึงปี 2501 บริษัทฯ ประสบกับการขาดทุน และไม่สามารถหาเงินมาชำระ ให้แก่ธนาคารออมสินได้ทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยรวมกันสูงถึง 40 ล้านบาทเป็นผลให้รัฐบาลชุด คณะปฏิวัติที่เข้ามาบริหารประเทศในปี 2501ทำการปรับปรุงกิจการใหม่ โดยเปลี่ยนกรรมการบริษัทฯ

ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารทั้งต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ ได้มีผู้นิยมลงทุนกันจัดเป็นรูปบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบธุรกิจการขนส่งด้วยรถโดยสาร จากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรัศมีไม่เกิน300 กิโลเมตร สำหรับในกรุงเทพมหานครนั้นก็มีผู้ประกอบการถึง 28 รายได้รับสัมปทานเดินรถโดยสาร ส่วนในต่างจังหวัดทางราชการยังมิได้มีการกำหนดเส้นทางสัมปทาน และควบคุมการเดินรถนี้เองทำให้ผู้ประกอบ การทำการแข่งขันกันจนเป็นผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ตลอดเวลานอกจากนั้นที่สำคัญ การดำเนินการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือที่เรียกว่าพวกบุคคลอันธพาล ที่คุมการเดินรถและเรียกเก็บผลประโยชน์ค่าคุ้มครองจากเจ้าของรถ หรือผู้ประกอบการทุกแห่ง ปัญหาเรื่องบุคคลเป็นภัยของสังคมหรือบุคคลอันธพาลเหล่านี้ จึงเป็นปัญหาของสังคมไทยช่วงปี 2490-2501 ในที่สุดผู้บริหารประเทศในขณะนั้น จึงทำการกวาดล้างบุคคลดังกล่าว และจับกุมข้อหาบุคคลที่เป็นภัยของสังคมจนหมดสิ้น เมื่อ พ.ศ. 2502 ปรากฎว่าอุบัติเหตุซึ่งเกิดจากรถยนต์รับ-ส่งผู้โดยสารต่างจังหวัดมีมากขึ้น เนื่องจากประชาชนนิยมซื้อรถยนต์จากผู้ขายก็สามารถซื้อได้ด้วยการผ่อนส่ง เมื่อจำนวนรถมีมากเกินความจำเป็น ก็เป็นเหตุให้มีการวิ่งแย่งรับส่งผู้โดยสารด้วยการขับรถเร็ว และขับแซงเพื่อมุ่งไปแย่งรับคนโดยสารในจุดข้างหน้าจึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ รัฐบาลในสมัยปฏิวัติจึงได้มอบหมายนโยบายการจัดการเดินรถ โดยให้ บขส. เป็นแกนกลางดำเนินการรวบรวมรถโดยสารของเอกชนเข้ามาร่วม จึงเป็นจุดเริ่มแรกของการมีรถร่วมพร้อมทั้ง รัฐบาลได้มอบสัมปทานแก่ บขส.เพื่อควบคุมการเดินรถในเขตสัมปทานรวม 25 จังหวัด เหตุที่ควบคุมเพิ่มขึ้นเพียง 25 จังหวัด ก็เพราะขณะนั้นอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของ บขส. และเจ้าหน้าที่ทางราชการ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบยังมีน้อย จึงได้เลือกควบคุมเฉพาะในเขตจังหวัดที่มีรถยนต์วิ่งจากกรุงเทพฯ ออกไปยังจังหวัดนั้น ๆ ก่อนคือภาคเหนือไปสุดที่จังหวัดนครสวรรค์


สีของรถ บข. ร้อยเอ็ด
สีเขียว
สีฟ้า

สีชมพู


บริการของรถโดยสาร ขส. ร้อยเอ็ด
เครื่องดื่ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น